วัดในจังหวัดอุบล

วัดในจังหวัดอุบล

จังหวัดอุบลราชธานี หรือ เรียกสั้นๆ ว่าเมืองอุบล มีคำขวัญประจำเมืองอุบลว่า เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซ่บหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์ คนดีศรีอุบล งามน่ายลวัดภูพร้าว

จังหวัดอุบลเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใคร เป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน กลางเมืองระหว่างอำเภอเมืองอุบล กับ อำเภอวารินชำราบ ซึ่งมีสะพานที่เชื่อมต่อเดินทางหากันคือ สะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี และสะพานเสรีประชาธิปไตย ในตัวเมืองอุบลมีสถานที่เก่าแก่ ทางประวัติศาสตร์มากมาย อาทิ บ้านเรือนสมัยก่อน สถานที่ตั้งค่ายทหารสมัยก่อนและรวมไปถึงวัดวาอารามที่มีอายุมากกว่า 200 ปี ที่ตั่งอยู่ในตัวเมืองอุบล 

ผู้เขียนเองได้มีโอกาสมาเยือนและอาศัยอยู่ที่จังหวัดอุบลในช่วงเวลาหนึ่ง เมืองอุบลเป็นเมืองที่น่ารัก ผู้คนอัธยาศัยดี เป็นมิตรมีน้ำใจเอื้อเผื่อต่อกัน (เว้าลาวม่วน ๆ คัก เป็นภาษาท้องถิ่นใช้ในการสื่อสารของคนที่นี่ ) มาถึงเมืองอุบลทั้งที จึงขอโอกาสนี้ไปไหว้สักการะพระคู่บ้านคู่เมืองแห่งเมืองอุบลเพื่อเป็นศิริมงคลและให้ลูกหลานมาอาศัยได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขกัน

1. วัดพระธาตุหนองบัว หรือชาวบ้านเรียกสั้น ๆ ว่า วัดหนองบัว ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ 2498 เป็นวัดราษฎร์นิกายธรรมยุต เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เป็นวัดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ภายในวัดยังมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจคือ พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการครบรอบ 25 ศตวรรษ ของพุทธศาสนาในปี 2500 พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ นั้นได้จำลองแบบมาจากเจดีย์พุทธคยา ของประเทศอินเดีย และยังเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอีกด้วย โดยวัดแห่งนี้อยู่ไม่ไกลมากนักจาก สถานนีขนส่งของจังหวัด โดยห่างราว ๆ ประมาณ 1.5 – 2 กม. ที่ตั้งของวัด อยู่ที่ ถนนธรรมวิถี ต.ในเมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานีอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.amuletacademy.com/web/travel_detail.php?id=259

2. วัดสุปัฎนารามวรวิหาร เป็นวัดที่ตั้งอยู่แม่น้ำมูล สามารถมาทำบุญให้อาหารปลาและนกได้ที่ท่าน้ำของวัดค่ะ วัดสุปัฎนารามวรวิหาร หรือ เรียกสั้นๆ ว่า วัดสุปัฎ เป็นวัดที่ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยรัชกาล ที่ 4 ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะเป็นวัดธรรมยุตินิกาย แห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในจังหวัดอุบลเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี มีพระพุทธรูปที่สำคัญคือ พระสัพพัญญเจ้า และพระแก้วขาวเพชรน้ำค้างซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดแห่งนี้ อุโบสถของวัดสุปัฏ เป็นแบบ ศิลปะ 3 ชนชาติ คือ ไทย / เยอรมัน /ขอม นั้นเอง . วัดสุปัฎนารามสามารถนั่งรถ 2 แถว สาย 11 จาก บขส. มาลงที่ด้านหน้าวัดได้เลยค่ะ ค่าบริการ 10 บาท ตลอดสายค่ะ วัดสุปัฎนารามห่างจากวัดพระธาตุหนองบัว 5.4 กม.ค่ะ ที่ตั้งอยู่ที่ ถนนสุปัฏน์ ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี เราไปต่อกันค่ะ หลังจากนั่งรถ 2แถวมาลงที่วัดสุปัฏนารามแล้วไปต่อ ด้วยการเดินค่ะอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://th.m.wikipedia.org/wiki/วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

3. วัดศรีอุบลรัตนาราม หรือเรียกอีกชื่อว่า วัดศรีทอง ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2398 ลักษณะพระอุโบสถสร้างตามแบบวัดเบญจมบพิตร และยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง คือ พระแก้วบุษราคัม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปฏิมากร ปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน บรรยากาศในวัดแม้จะอยู่ติดกับถนนเส้นหลักแต่ภายในบรรยาศเรียบสงบมาก วัดศรีอุบลรัตนาราม ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดสุปัฏ ห่างประมาณ 600 เมตร ที่ตั้งของวัด ถนนอุปราช ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://th.m.wikipedia.org/wiki/วัดศรีอุบลรัตนาราม

4.  ศาลหลักเมือง เราเดินข้ามถนนมาประมาน 260 เมตร จากวัดศรีอุบลรัตนาราม ก็จะเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง ประจำจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่ง ตั้งอยู่ทางด้านข้างของทุ่งศรีเมือง สวนสาธารณะใจกลางเมืองอุบลค่ะ ศาลหลักเมืองก่อสร้างเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2515 เป็นสถานที่ยึดเหนียวจิตใจของพี่น้องชาวอุบลและมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยี่ยมชมเมืองอุบลต่างก็จะมากราบไหว้ขอพรเพื่อเป็นศิริมงคลและสมดังปรารถนาที่ตั้งจิตอธิฐานเอาใว้ หลังนัันจากเราออกเดินทางไปต่อที่ วัดทุ่งศีรเมือง ระยะทางห่างจากศาลหลักเมือง 550เมตร ค่ะ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/esaninfo/?p=715 

5. วัดทุ่งศรีเมือง  เป็นวัดที่เก่าแก่ถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เป็นวัดที่ถูกสร้างแบบผสมผสานระหว่าง ไทย-พม่า-ลาว และมีหอพระไตรปิฏกที่สร้างด้วยไม้ตั้งอยู่กลางสระน้ำ หอไตรที่เก่าแก่ที่สุดมีความสวยงามและสมบูรณ์มากที่สุด แห่งหนึ่งของภาคอีสาน ถัดมาด้านข้างของหอพระไตร คือ อุโบสถ หรือหอพระบาทซึ่งภายในประดิษฐาน พระพุทธบาทจำลองมาจาดวัดสระเกศราชวรวิหาร นอกจากนี้ที่วิหารศรีเมือง ก็ยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยชื่อว่าพระเจ้าใหญ่ศรีเมือง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ของจังหวัดอุบลราชธานี ที่พุทธศาสนิกชนให้ความเลื่อมใสศรัทธากันต่อมาอย่างช้านาน ที่ตั้งของวัด 95 ถ.หลวง ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี 

ว่าแล้วเราเดินทางไปต่อที่วัดหลวงกันเลยค่ะ ระยะทางห่างจากวัดทุ่งศรีเมือง  700 เมตร โดยออกจากหน้าวัดแล้วเลี้ยวขาวมือมุ่งหน้ามาทางแม่น้ำมูลอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/esaninfo/?p=250

6. วัดหลวง เป็นวัดแรกของเมืองอุบลและเป็นวัดประจำเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก ก็คือ ท้าวคำผง วัดถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2324 มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ชื่อว่า พระเจ้าใหญ่องค์หลวง ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้าใหญ่องค์หลวง (ศาลาการเปรียญ) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์แรกของชาวเมืองอุบล มีอายุยาวนานมากว่า 223 ปีมาแล้ว ด้านหลังของวัด ติดกับแม่น้ำมูลมองเห็นฝั่งตรงข้ามจะเป็นเขตของ อ.วารินชำราบ และยังช่วงเทศกาลลอยกระทงของทุกปีจะมีการจัดงานกันอยู่สถานที่แห่งนี้ ด้วยค่ะ  ไปต่อที่วัดกลางกันค่ะ ระยะทางจากวัดหลวง 400 เมตร .อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/esaninfo/?p=31

9. วัดมหาวนาราม หรือเรียกว่าวัดป่าใหญ่ เป็นวัดที่เก่าแก่เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง ของชาวอุบล เดิมทีวัดนี้เป็นสำนักสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากัมฐาน ก่อตั้งเมื่อปี 2322 มีพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ชื่อว่า พระเจ้าใหญ่อินแปง ชาวอุบลและนักท่องเที่ยว ต่างมากราบไหว้ขอพรกันที่นี่เป็นจำนวนมาก และในช่วงเวลา 15:30 น. ของทุกวันจะมีการทำวัตรเย็นใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมงค่ะ ภายในวัดจะมีการทำบุญต่าง ๆ อาทิเช่น ถวายสังฆทาน ทำบุญประจำวันเกิด และอื่น ๆค่ะ ตามแต่ความศรัทธาของผู้ที่มาทำบุญ .. อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://th.m.wikipedia.org/wiki/วัดมหาวนาราม

วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว  หรือนิยมเรียกกันว่า วัดเรืองแสง ตั้งอยู่ที่  อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง โดยจำลองสภาพแวดล้อมของวัดป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาศ  บริเวณบนยอดเขาจะมองเห็นพระอุโบสถสีปัดทองตั้งเด่นเป็นสง่า  จุดเด่นของวัดคือ การได้มาชมภาพเรืองแสงเป็นสีเขียวของของต้นกัลปพฤกษ์ที่เป็นจิตรกรรมที่อยู่บนผนังด้านหลังของอุโบสถในยามค่ำคืน ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการมาชมและถ่ายภาพคือ ตั้งแต่เวลา 6.00.19.30 น. ซึ่งหากโชคดีก็จะได้เห็นดวงดาวมากมายเต็มท้องฟ้า อีกด้วย  แต่ภาพเรืองแสงนี้หากมองด้วยตาเปล่าจะเห็นเพียงเล็กน้อย จะไม่เห็นเป็นสีเขียวชัดเจนเท่ากับภาพที่ถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพ เพราะฉะนั้นนักท่องเที่ยวบางท่านที่มาเก็บภาพความงดงามผ่านสายตาต้องเผื่อใจไว้เล็กน้อย

นอกจากความมหัศจรรย์ของพระอุโบสถแล้ว วัดแห่งนี้ยังมีจุดชมวิวทิวทัศน์ซึ่งเป็นวิวลำน้ำโขง และบริเวณด้านหลังพระอุโบสถเป็นจุดชม วิวทิวทัศน์ของฝั่งประเทศลาวและมองเห็นด่านสากลช่องเม็กอย่างสวยงามรวมทั้งอ่างเก็บน้ำที่ อยู่บริเวณเชิงเขาคล้ายกับทะเลสาป  โดยเฉพาะในช่วงพระอาทิตย์ตกดินเราเราจะได้เห็นพระอาทิตย์ดวงโตซึ่งเป็นบรรยากาศที่สวยงามมาก สำหรับต้นกัลปพฤกษ์เรืองแสง เป็นฝีมือการออกแบบของช่างคุณากร ปริญญาปุณโณ ผู้ลงมือติดโมเสกแต่ละชิ้นด้วยตัวเอง โดยมีแรงบันดาลใจมาจากต้นไม้แห่งชีวิต ในภาพยนตร์เรื่องอวตาร โดยใช้สารเรืองแสง หรือ สารฟลูออเรสเซนต์รอบต้น  คุณสมบัติของสารฟลูออเรสเซนต์จะรับแสงพระอาทิตย์ ในตอนกลางวัน พร้อมกับที่ศิลปกรรมชิ้นนี้ ได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือหันข้างไปทางทิศตะวันตก ก็เลยเหมือนเป็นฉากกั้น พลังงาน ในช่วงเวลาตอนกลางวัน แล้วจะฉายแสงออกมาในตอนกลางคืน คือเป็นการคายพลังงานออกมา  ตัวอุโบสถมีต้นแบบมาจาก วัดเชียงทอง ประเทศลาว เสาแต่ละต้นลงลวดลายด้วยมือ โดยรอบนอกเป็นลายดอกบัวและสัตว์ทั้งหลายตามคติบัว 4 เหล่า ทางเข้าเป็นต้นสาละ

ส่วนตัวอุโบสถมีต้นแบบมาจากวัดเชียงทอง ประเทศลาว แต่มีความกว้างมากกว่า 1 เท่า และความยาวมากกว่า 2 เท่า เสาแต่ละต้นลง ลวดลายด้วยมือ โดยรอบนอกเป็นลายดอกบัวและสัตว์ทั้งหลายตามคติบัว 4 เหล่า หัวใจหลักของการทำพุทธศิลป์ คือ การนำเสนอ งานศิลปะที่เกิดจากความสงบ ความเพียร ความอดทน และวิสัยทัศน์ งานแต่ละชิ้นต้องคิดจากความคิดอันวิจิตรและขบคิดมาก่อนทั้งสิ้น อย่างแนวคิดการจำลองให้วัดเป็นเขาพระสุเมรุ  ตรงกลางของพระอุโบสถ เป็นที่ตั้งของพระประธาน แต่เดิมที่คล้ายกับพระพุทธชินราช ในจังหวัดพิษณุโลก แต่มีการนำเพียงส่วนรัศมีออกไป เพื่อให้แลดูกลมกลืนกันยิ่งขึ้น พร้อมกับได้ทำฉากหลังเป็นต้นโพธิ์ โดยเบื้องบนติดด้วยแผ่นพระทอง

ส่วนการสร้างวัดนั้น ท่านพระอาจารย์บุญมากเป็นผู้ริเริ่ม ท่านเป็นคนฝั่งลาวจำปาสักเข้ามาเผยแพร่อบรมสมาธิทางฝั่งไท และได้ปักกลด ที่ภูพร้าวแห่งนี้ในปี 2497-2498 ต่อมาปี 2516ท่านได้ขอบิณฑบาตพื้นที่ให้เป็นวัดจากทางหน่วยทหารและทางราชการอ.พิบูลมังสาหาร ทางอำเภอจึงให้ตั้งชื่อวัดว่า วัดสิรินธรวราราม หลังจากนั้นท่านพระอาจารย์บุญมากต้องกลับประเทศลาว ทิ้งให้วัดร้างหลายสิบปี จนกระทั่งปี 2542 พระครูกมล ลูกศิษย์ของท่านได้ค้นพบวัดอีกครั้งและบูรณะให้กลับมาเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมได้ดังเดิม หลังจาก พระครูกมลละสังขารไปในปี 2549 พระครูปัญญาก็เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดและสานต่องานสร้างวัดต่อไป อย่างต้นกัลปพฤกษ์ เรืองแสงเพิ่งสร้างเสร็จเมื่อปีที่แล้ว ส่วนพระอุโบสถยังมีการแต่งเติมอยู่เรื่อยๆ ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.paiduaykan.com/https://travel.trueid.net/